Skip to content
ศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี (DISAC)
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • คณะทำงาน
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • บทความ
ร่วมบริจาค

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด คุณยอมรับให้เก็บคุกกี้เพื่อการใช้งานหรือไม่?

ศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี (DISAC)ศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี (DISAC)
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • คณะทำงาน
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • บทความ
ร่วมบริจาค
ศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี (DISAC)ศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี (DISAC)

วิถีชุมชนวัด: วิถีปฏิบัติของคริสตชน

  • May 20, 2022
  • Catholic Social Teaching

คำนำ

อริสโตเติ้ล นักปรัชญากรีกโบราณกล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” และบารุค สปิโนซ่า นักปรัชญาเชื้อสายยิว-ดัทช์ ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์ได้รับสิ่งดี ๆ จากชีวิตทางสังคมมากกว่าความเจ็บปวด” สำหรับคำสอนชาวคริสต์แล้ว พระคัมภีร์ในหนังสือปฐมกาลกล่าวไว้ว่า เมื่อพระเจ้าทรงสร้างอาดัมแล้ว ก็ทรงสร้างเอวาให้มาเป็นเพื่อนอาดัม เพราะทรงเห็นว่าอาดัมไม่ควรอยู่คนเดียว ข้อความเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่จะต้องอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ เป็นชุมชนเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องยากมากที่มนุษย์จะอยู่คนเดียวโดยไม่ติดต่อคลค้าสมาคมกับใครเลย ดังสุภาษิตไทยที่กล่าว่า “เศรษฐียังมีวันขาดไฟ” ด้วยเหตุนี้ การสร้างสรรค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินชีวิตเป็นหมู่คณะ เป็น

ชุมชนจึงมีความสำคัญ

บรรดาพระสังฆราชคาทอลิกในเอเชีย ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการประชุมหลาย ๆ ครั้ง นับแต่ปี 1977 เป็นต้นมา ว่าพระศาสนจักรต้องสนับสนุนการสร้างกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน (Basic Christian Community) ซึ่งถือว่าเป็น “วิถีใหม่แห่งการเป็นพระศาสนจักร” บรรดาพระสังฆราชคาทอลิกของเอเชีย ยังได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นและองค์ประกอบของกลุ่มคริสตชนพื้นฐานว่า มาจากการที่ประชาชนเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างแท้จริง และรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน รู้จักกันและกันอย่างแท้จริง มาชุมนุมพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ มีการใส่ใจกันและกัน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมุ่งสู่เป้าหมายและความห่วงใยร่วมกัน นี่คือเอกภาพความสามัคคีและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ได้กล่าวถึงคำสอนของพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสอนให้เราดำเนินชีวิตแบบหมู่คณะ ให้ทุกคนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และยังได้กล่าวถึงการฟื้นฟูและสนับสนุนให้คริสตชนทุกคนรวมตัวกันเป็นชุมชนคริสตชนย่อยที่มีอารยธรรมแห่งความรักหลักในการดำเนินชีวิต

ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่สังคมปัจจุบัน คนเรามักจะสนใจแต่เรื่องส่วนตัว เป็นปัจเจกชน ไม่ใส่ใจต่อสังคมส่วนรวม คุณค่าที่ดีงาม การแบ่งปัน การพึ่งพาอาศัยกันและกัน และการช่วยเหลือกันมีการถดถอยน้อยลง แต่เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การสนับสนุนให้มีกลุ่มคริสตชนย่อย หรือกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นวิถีชุมชนวัดหรือวิถีปฏิบัติของคริสตชน จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคาทอลิกและประชาชนทั่วไป

แนวคิดและแนวทางของวิถีชุมชนวัดตามแนวทางคาทอลิก

สำหรับคริสตชนคาทอลิกแล้ว มีคำสอนเกี่ยวกับชุมชนคริสตชนที่ระบุไว้ในพระคัมภีร์พระธรรมใหม่ ในหนังสือกิจการอัครสาวกว่า “คน​เหล่า​นั้น​ประชุม​กัน​อย่าง​สม่ำเสมอ​เพื่อ​ฟัง​คำ​สั่ง​สอน​ของ​บรรดา​อัคร​สาวก ดำเนิน​ชีวิต​ร่วม​กัน​ฉัน​พี่​น้อง ร่วม”พิธี​บิ​ขนมปัง” และ​อธิษ​ฐาน​ภาวนา …. ผู้​มี​ความ​เชื่อ​ทุก​คน​ดำเนิน​ชีวิต​ร่วม​กัน​และ​มี​ทุกสิ่ง​เป็น​ของ​ส่วนรวม เขา​ขาย​ที่ดิน​และ​ทรัพย์สิน​อื่นๆ แบ่ง​เงิน​ให้​ทุก​คน​ตาม​ความ​ต้อง​การ ทุกๆ วัน เขา​พร้อมใจ​กัน​ไป​ที่​พระ​วิหาร​และ​ไป​ตาม​บ้าน​เพื่อ​ทำ​พิธี​บิ​ขนมปัง ร่วม​กิน​อาหาร​ด้วย​ความ​ยินดี และ​เข้าใจ​กัน สรร​เสริญ​พระ​เจ้า”

จากเนื้อหาในพระคัมภีร์ข้างต้น เราเห็นได้ว่าวิถีปฏิบัติของคริสตชนรุ่นแรกเป็นอย่างไร นั่นคือ

  1. มีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ การเป็นชุมชนต้องมีการพบปะกันเป็นประจำเพื่อสร้างและกระชับความสัมพันธ์ เล่าสู่กันฟังถึงสถานการณ์ชีวิตของแต่ละคน ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน
  2. มีการเฉลิมฉลองความเชื่อโดยทางพิธีกรรม เพื่อสรรเสริญพระเจ้า
  3. มีการฟังพระวาจาของพระเจ้า อธิษฐาน ภาวนา และพิจารณาไตร่ตรองว่าพระเจ้าทรงมีพระประสงค์อะไรต่อเรา ต่อมนุษยชาติ และต่อโลกที่เราอาศัยอยู่ และเราจะตอบสนองต่อพระประสงค์นั้นได้อย่างไร
  4. มีการดำเนินชีวิตร่วมกันฉันพี่น้อง มีการไปเยี่ยมเยียนตามบ้านของกันและกัน ร่วมรับประทานอาหารเพื่อกระชับความสัมพันธ์เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีการแบ่งปันช่วยเหลือกันและกันเพื่อจะได้ไม่มีใครที่ต้องตกทุกข์ได้ยาก

สหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชียได้กล่าวว่ากลุ่มคริสตชนย่อยเป็นวิถีใหม่แห่งการเป็นพระศาสนจักร มิได้เกิดจากทฤษฎี แต่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตจริง โดยมีองค์ประกอบเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  1. เป็นกลุ่มหรือชุมชนของผู้ที่มีความเชื่อ มิใช่เพราะอุดมการณ์ทางปรัชญา การเมือง หรือวัฒนธรรม
  2. เป็นกลุ่มของคนในระดับล่าง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของพระศาสนจักร ทำให้สมาชิกมีความสัมพันธ์แบบได้พบหน้ากัน และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน
  3. มีฆราวาสเป็นผู้นำ แต่แรกเริ่มกลุ่มคริสตชนย่อยเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะขาดแคลนพระสงฆ์ แต่ไม่ปฏิเสธการเป็นผู้นำของพระสงฆ์นักบวชหากมีความจำเป็นจริง ๆ
  4. เป็นกลุ่มที่มีการปฏิบัติการตามการตัดสินใจที่มาจากการวินิจฉัยแยกแยะ ซึ่งทำให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคริสตชนย่อยอย่างแท้จริง

พระสังฆราชกลาแวร์ แห่งฟิลิปปินส์ บอกว่า พระศาสนจักรจะเป็นชุมชนได้ก็จะต้องเป็นพระศาสนจักรที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และกลุ่มคริสตชนย่อยมีหลายแบบด้วยกัน นั่นคือ กลุ่มคริสตชนย่อยประเภทแรกเน้นพิธีกรรมการภาวนาเป็นหลัก กลุ่มคริสตชนย่อยประเภทที่สอง เป็นชุมชนที่เน้นการพัฒนามุ่งแก้ไขปัญหาสังคมของชุมชนตัวเอง และกลุ่มคริสตชนย่อยประเภทที่สาม เน้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคมส่วนรวมด้วย เช่นเน้นการแก้ปัญหาความอยุติธรรมในสังคม การละเมิดสิทธิมนุษยชน อาชญากรรมและความรุนแรง ซึ่งมักถูกมองไปว่าเป็นมิติด้าน “การเมือง” ของชีวิต กลุ่มคริสตชนย่อยทั้งสามประเภทนี้ มีแนวคิดแตกต่างกัน แต่ก็เป็นพัฒนาการตามกาลเวลา ซึ่งกลุ่มคริสตชนย่อยที่เน้นพิธีกรรมจะปรับตัวไปเป็นกลุ่มคริสตชนย่อยด้านการพัฒนา และไปสู่การเป็นกลุ่มคริสตชนย่อยด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคมแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมในสังคม การละเมิดสิทธิมนุษยชนและความรุนแรงในที่สุด

วิธีการสำหรับวิถีชุมชนวัด

นอกเหนือจากการมีการพบปะกันสม่ำเสมอ การเฉลิมฉลองความเชื่อภาวนาและฟังพระวาจาของพระเจ้า ช่วยเหลือซึ่งกันและกันรวมถึงองค์ประกอบอื่นดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว เพื่อให้กลุ่มคริสตชนย่อย หรือกลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐาน สามารถเป็นกลุ่มที่มีวิถีชุมชนวัดที่เข้มแข็งยั่งยืนได้ ควรมีวิธีการดำเนินงานในกลุ่มดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตจริงซึ่งกันและกัน ทั้งในเรื่องความใฝ่ฝัน ความหวัง สิ่งท้าทาย ปัญหาอุปสรรคในชีวิต ความห่วงใยกังวล รวมถึงทำการวิเคราะห์ร่วมกันว่า ปัญหาที่พบนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร เกี่ยวข้องอะไรกับสังคมใหญ่หรือไม่อย่างไร เพื่อว่าสมาชิกในกลุ่มจะได้รู้จักกันและกันมากขึ้น จะได้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น และสามารถช่วยเหลือกันและกันได้
  2. ไตร่ตรองพระวาจาเพื่อดูว่า พระเจ้ามีพระประสงค์อะไร พระองค์ทรงพระประสงค์ให้ชีวิตมนุษย์และโลกเป็นเช่นนั้นหรือไม่ และพระองค์ทรงพระประสงค์ให้ชีวิตมนุษย์แต่ละคนและทุกคน และโลกเราเป็นอย่างไร
  3. หาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่พบด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของเราแต่ละคน และสังคมด้วย เพื่อให้เราและมนุษย์ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตตามพระประสงค์ของพระเจ้าได้อย่างดียิ่งขึ้น รวมถึงโลกของเราจะได้เป็นสถานที่ที่เราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

บทสรุป

ในสังคมโลกปัจจุบันที่ดูเหมือนสามารถติดต่อกันได้รวดเร็วโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเป็นปัจเจก ไม่ค่อยคบหาสมาคมกัน ความสัมพันธ์เชิงสังคมลดน้อยถอยลง คุณค่าที่ดีงาม ทั้งในเรื่องการแบ่งปันกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การพึ่งพาอาศัยกัน ก็จางหายไปมาก ทำให้ยังมีคนที่ถูกทอดทิ้ง ประสบความยากลำบากในการดำเนินชีวิต มีการเลือกปฏิบัติกันมากขึ้น วิถีชุมชนวัดจึงถือเป็นหนทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้มาก และจะช่วยให้โลกที่เรามนุษย์ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติสุข

แชร์บทความนี้
No results

บทความ

  • Newsletter ฉบับที่ 1/2025 January 17, 2025
  • Newsletter ฉบับที่ 1/2024 September 30, 2024
  • DISAC x Enfants du Mékong September 28, 2023
  • การจัดการชุมชนหมู่คณะให้เข้มแข็ง July 18, 2023
  • คน สัตว์ พืชพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม: ความเกี่ยวข้องที่สัมพันธ์พึ่งพากัน July 18, 2023

บทความที่เกี่ยวข้อง

Newsletter ฉบับที่ 1/2025

  • January 17, 2025

Newsletter ฉบับที่ 1/2024

  • September 30, 2024

คำสอนคาทอลิกกับแรงงาน: ปกป้อง คุ้มครองและช่วยเหลือ

  • July 18, 2023

จากเลาดาโตซีถึงอเมซอนที่รัก

  • July 18, 2023

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Catholic Mission ลงพื้นที่ระนอง หนุนเสริมงานพัฒนาชุมชนอย่างบูรณาการ
ศูนย์สังคมพัฒนาฯ จัดกิจกรรมจิตวิทยา-สังคม ให้กับผู้เข้ารับบริการ ณ บ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ระนอง
ศูนย์สังคมพัฒนาฯ จัดอบรมให้กับบุตรหลานแรงงานข้ามชาติ เรื่องการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน โทษภัยของสารเสพติด และการใช้สื่อออนไลน์แบบสร้างสรรค์
กิจกรรมเด็กประจำเดือนมกราคม “ศิลปะถ้วยกระดาษสีสันแฟนตาซี”

ศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี (DISAC SURAT)

ที่อยู่ : 3/7 หมู่ 7 บ้านบางสัก ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82190

โทรศัพท์ : 076-406473 วันทำการ จ. – ศ. เวลา 08.30-17.00 น.
โทรสาร : 076-406476
เว็บไซต์ : www.disacsurat.com
Email: projectsuratdiocese@gmail.com

Site Map

เกี่ยวกับเรา
คณะทำงาน
ข่าวและกิจกรรม
บทความ
ช่องทางการบริจาค

Facebook

Copyright © 2025 - ศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี (DISAC)
Powered by Bank Metha