ความเป็นมา

ปี 1933

DISAC SURAT

สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีได้เริ่มต้นงานด้านการพัฒนาสังคมและชุมชนก่อนที่จะได้รับการประกาศเป็นสังฆมณฑลเมื่อมิสชันนารีมาเยี่ยมเยียนคาทอลิกที่ลงมาตั้งรกรากอยู่ในภาคใต้ และมีการบุกเบิกพื้นที่จัดสรรให้คาทอลิกที่อพยพลงมาหาแหล่งทำกิน พร้อมทั้งสนับสนุนการประกอบอาชีพการเกษตรควบคู่ไปกับการอภิบาล

ปี 1969

DISAC SURAT

สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสังฆมณฑล เพื่อทำหน้าที่อภิบาลชาวคาทอลิกประมาณ 7,359 คน โดยมีบาดหลวงสังกัดสังฆมณฑล 18 คน นักบวชคณะซาเลเซียน 16 คน นักบวชคณะสติกมาติน 11 คน นักบวชคณะพระมหาไถ่ 1 คน และนักบวชหญิง 3 คนทำงานใน 41 ตำบลที่กระจายอยู่ใน 15 จังหวัดภาคใต้ ชาวคาทอลิกในสังฆมณฑลนี้ส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดอื่น ๆ โดยเฉพาะจากภาคกลาง เพื่อแสวงหาที่ดินใหม่เพื่อทำการเกษตร และได้มีการแต่งตั้งผู้แทนสังฆมณฑลด้านสังคม และเข้าเป็นสมาชิกในคณะกรรมการสังคมสงเคราะห์ของสภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา

ปี 1972

DISAC SURAT

มีการทำงานด้านสังคม โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาชุมชนในเขตสังฆมณฑลกระจัดกระจายไปตามวัดต่าง ๆ ตลอดมา

ปี 1970

DISAC SURAT

เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามกฎหมาย สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายใต้ชื่อ ‘มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี’ ซึ่งกิจกรรมของสังฆมณฑลทั้งหมดดำเนินการภายใต้ร่มของามูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี

ปี 1975

DISAC SURAT

จัดตั้งศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑลสุราษฏร์ธานี เพื่อให้ทำงานด้านสังคมอย่างเป็นระบบ โดยศูนย์สังคมพัฒนาดำเนินกิจกรรมภายใต้คณะกรรมาธิการสังคม ซึ่งเป็นคณะอภิบาลสังคมของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีในมูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี

ปี 2004

DISAC SURAT

เกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้นในจังหวัดฝั่งอันดามัน สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีได้เข้าช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยทันที ให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินและฟื้นฟูผู้ประสบภัยโดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับ “Tsunami Solidarity Response Team (TST)” ซึ่งจัดตั้งโดย Caritas Internationalis และร่วมกับ Caritas Germany และ Caritas Italy ภายในโครงการสึนามิ ศูนย์สังคมพัฒนาได้รับการเสริมสร้างศักยภาพผ่านการสนับสนุนของ Caritas Italy

ซึ่งหลังจากโครงการสึนามิ ศูนย์สังคมพัฒนาได้หาทางตอบสนองต่อสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับ Caritas Italy ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ ‘การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติชาวพม่า’ (DQM) ‘การปรับปรุงสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงระบบสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับแรงงานข้ามชาติชาวพม่า’ (IHR), ‘การต่อต้านการค้ามนุษย์’ (AHT) และ ‘การส่งเสริมการต่อต้านการค้ามนุษย์และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี (PAH)

ในฐานะองค์กรเพื่อสังคมของศาสนจักร ศูนย์สังคมพัฒนามีปณิธานที่จะเป็นประจักษ์พยานแห่งความรัก ต่อเพื่อนมนุษย์ผู้ยากไร้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธและมุสลิมในบริบทของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี เพื่อปกป้องและพัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ เหยื่อการค้ามนุษย์ เกษตรกรผู้ยากไร้ ตลอดจนการส่งเสริมจิตวิญญาณของชุมชนคริสตชนขั้นพื้นฐาน และมิติทางสังคมในตำบลและโรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑล

ปี 2006

DISAC SURAT

จัดตั้งสำนักงานของศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑลสุราษฏร์ธานีอย่างเป็นทางการ ตั้งอยู่ที่ 3/7 หมู่ 7 บ้านบางสัก ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และได้ริเริ่มทำงานร่วมกับชุมชนไทยในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริม การพึ่งพาตนเองในหมู่พวกเขาผ่านสินเชื่อขนาดเล็กและกิจกรรมการออมเพื่อสนับสนุนพวกเขา หลายคนมีความยากลำบากจากเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งศูนย์สังคมพัฒนา พบว่าใน 3 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน (ระนอง พังงา และภูเก็ต) ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนพม่า เต็มไปด้วยแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ที่เข้ามาหางานทำในประเทศไทย ดังนั้น ศูนย์สังคมพัฒนา จึงเริ่มทำงานกับผู้อพยพชาวเมียนมาร์ที่เปราะบางเหล่านี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา